ประวัติความเป็นมาของโปรแกรมระบบ SAP คืออะไร

จากที่ได้แนะนำ โปรแกรมระบบ SAP คืออะไร ไปแล้วครั้งก่อน วันนี้ทีมงานได้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา การก่อตั้ง และความสำคัญของการใช้งาน SAP มาฝากกันเป็นข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ประวัติตวามเป็นมาของ SAP

Timeline SAP history

SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สํานักงานใหญอยูที่ Walldorf, Germany

โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี

เปาหมายธุรกิจในเริ่มแรก เนนลูกคาที่เปนธุรกิจขนาดใหญ (Enterprise-scale) แตในปจจุบันไดขยายธุรกิจไปที่ลูกคาขนาดเล็กและขนาดกลาง

•         * SAP มีการสร้างระบบงานทางด้าน Financial Accounting ที่เป็นลักษณะ Real-time และ Integrate Software

•      *ในปีต่อๆมา SAP ได้มีการพัฒนาระบบงานเพิ่มทางด้าน Material Management, Purchasing, Inventory Management และ Inventory Management และ Invoice Verification

•      *ในปี 1997 ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทเป็น System, Anwendungen, Produkte in der Datenverarbeitung(System Applications, Products in data Processing)และได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมือง Walldorf

•         *จากนั้น SAP ก็ได้พัฒนาระบบงานเพิ่มขึ้น เช่น Assets Accounting เป็นต้น

•      * ในปี 1978 SAP ได้เสนอระบบงานที่เป็น Enterprisewide Solution ที่ชื่อว่า SAP/R2 ซึ่งทำงานอยู่บนระบบ Mainframe พร้อมกับเพิ่มระบบงานทางด้าน Cost Accounting

•         *ในปี 1992 SAP ได้เสนอระบบงานที่ทำงานภายใต้ Environment ที่เป็น 3 Tier Clien/Server บนระบบ UNIX ที่ชื่อว่า SAP R/3

ในป พ.ศ. 2532 SAPไดตั้งสํานักงานใหญประจําภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่ประเทศสิงคโปรเพื่อ

เปนการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในเอเซียใตและประเทศยานแปซิฟก ตอมาไดขยายสาขาในภูมิภาคนี้ใน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนิเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด ฟลิปปนส และประเทศไทย

กรกฎาคม พ.ศ. 2546 องคการโทรศัพทแหงประเทศไทยไดเลือกใช mySAP Supplier Relationship

Management (SRM) เพื่อมาชวยในการจัดซื้อจัดจาง และกอใหเกิด Supplier network ขึ้นมา โดยหวังวาในที่สุดจะทําใหมีการจัดซื้อจัดจางที่รวดเร็วขึ้นและลดตนทุนในการดําเนินธุรกิจได ซึ่งมีผลตอ 10 บริษัทที่เปนคูคาขององคการโทรศัพท

ลูกคาที่สําคัญของ SAP ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ Singtel, Tata Group of Companies, Siam Cement, Telom Asia, PT Astra, San Miguel, Uniliver, FAW-Volkswagen, Sony Computer Entertainment, 7-Eleven Stores, General Motors, Novartis

คลิปแสดงประวัติของ SAP




ความหมายของ SAP คืออะไร

SAP (Systems, Applications and Products in Data Processing") A company from Germany

that sells the leading suite of client-server business software. The US branch is called SAP America.

SAP is a real-time and integrated software that can control all of business jobs to do in the corrected and perfect ways.

SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้

กล่าวโดยสรุป SAP (System Application Products) เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจประเภท ERP (Enterprise Resource Planning) ของประเทศเยอรมันที่ใช้ควบคุมดูแลทุกสายงานของบริษัท

ความหมายและลักษณะของ ERP

ERP (Enterprise Resource Planning) สามารถจัดการ Transaction Cycle ได้หมดดังนี้
- Expenditure
- Conversion
- Revenue
- Financial

ERP เป็น Software ที่ใช้ในการ Manage ได้ทั้งองค์กร โดยที่มี common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามารถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing

ก่อนที่จะมีระบบ ERP  นั้น เดิมในวงการอุตสาหกรรมประมาณช่วงทศวรรษ  1960  ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตทางด้านการคำนวณความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material  Requirement  Planning  ( MRP )  ก็คือเราจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบหรือ  Material  ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น  ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษ  1970   ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตในด้านของเครื่องจักร ( Machine )  และส่วนของเรื่องการเงิน ( Money ) นอกเหนือไปจากส่วนของวัตถุดิบ  ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า  Manufacturing  Resource  Planning  ( MRP  II )

จากจุดนี้เราพอจะมองเห็นภาพคร่าวๆ  ของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารงานในอุตสาหกรรมได้  ดังที่มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า  ระบบ  MRP  นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการทางด้าน  Material  ส่วนระบบ  MRP II นั้นจะเข้ามาช่วยในการจัดการใน M อีกสองตัวนอกเหนือจาก  Material  ก็คือ Machine  และ Money  ซึ่งระบบ  MRP II  ที่ชื่อ  TIMS ของประเทศนิวซีแลนด์  จะมีเมนูหลักของ Module  3 Modules หลักด้วยกันคือ  Financial Accounting , Distribution  และ  Manufacturing  และใน  Module  ของ Manufacturing  จะมีส่วนของ  MRP  รวมอยู่ด้วย

จะเห็นได้ว่าในการนำเอาระบบ  MRP II  เข้ามาช่วยในองค์กรหนึ่งๆ นั้น  จะยังไม่สามารถซัพพอร์ตการทำงานทั้งหมดในองค์กรได้  นี่จึงเป็นที่มาของระบบ ERP  ซึ่งจะรวมเอาส่วนของ M ตัวสุดท้ายก็คือ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงานที่เรียกตัวเองว่า  ERP  นั่นเอง  ดังนั้นระบบ  ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร ( Enterprise Wide ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ  4 M ซึ่งจะประกอบไปด้วย  Material  ,  Machine  , Money  และ  Manpower  นั่นเอง ดังนั้นถ้าเราเข้าไปดูที่เมนูหลักของระบบ  ERP  เราจะพบว่ามีเมนูของทั้ง  MRP  และ  MRP II  รวมอยู่ด้วยเพราะ  ERP  มีต้นกำเนิดมาจากระบบ  MRP  และ  MRP II นั่นเอง

ERP จะเน้นให้ทำ Business Reengineering เพื่อปรับปรุงระบบให้เข้ากับ ERP ซึ่งจะแบ่ง Function Area เป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ
1. Marketing Sales
2. Production And Materials Management
3. Accounting And Finance
4. Human Resource
แต่ละส่วนจะมี Business Process อยู่ในนั้น ซึ่งจะมีหลาย Business Activity มาประกอบกัน เช่น activity การออก Invoice เป็น Activity แต่ละ Activity จะไปต่อเนื่องกันหลายๆอันออกไปจนกลายเป็น Process ที่เรียกว่า “Computer Order management”  ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ Functional Area ที่เรียกว่า “Marketing And Sale”
Concept หลักๆของ ERP คือ เอาทุกข้อมูลของแต่ละแผนกมา Integrate กัน เพื่อ Share ข้อมูลกัน

ผลิตภัณฑ์ของ SAP

ระบบ SAP ประกอบด้วย หลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท software ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยายามสร้าง software ที่เหมาะสม กับทุกธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่านของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า 1 ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน SAP มีหลาย Module มีหน้าที่ที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์SAPมี 2 กลุ่ม  คือ SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม  และ SAP R/3 ใช้กับระบบ client/server  SAP เป็นบริษัทของ German แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อย, หุ้นส่วน, และ พันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก

คลิปแนะนำ SAP คืออะไร ทำไมจึงต้องใช้ SAP



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น