เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) คืออะไร มีความสำคัญยังไงกับยุคปัจจุบัน?

ความสำคัญของคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)


ทุกวันนี้ เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นและมักมีการพูดถึงกันบ่อยครั้งขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแนวโน้มการนำคลาวด์คอมพิวติ้งไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือจากองค์กรต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ

คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) คืออะไร

คำนิยามสั้น ๆ ของคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ก็คือ แนวคิดการใช้งานทางด้านไอทีที่ใช้วิธีดึงพลังและสมรรถนะจากคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัวจากต่างสถานที่ให้มาทำงานสอดประสานกันเพื่อช่วยขับเคลื่อนการบริการทาง ด้านไอที ประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งมีอยู่หลายประการ เช่น ช่วยให้การนำไอทีไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจทำได้ง่ายและประหยัดขึ้นกว่าใน อดีต โดยองค์กรสามารถใช้บริการทางด้านไอทีได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายกับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของตน อีกทั้งผู้ใช้งานก็สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่าย ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้ ยิ่งไปกว่านั้น คลาวด์ คอมพิวติ้งก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงาน หรือเพิ่มความอุ่นใจในด้านความปลอดภัยของระบบไอที เป็นต้น

ในอนาคตอันใกล้ คลาวด์คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและจะเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยน รูปแบบการใช้งานทางด้านไอทีขนานใหญ่ นอกจากนั้นแล้ว แนวโน้มการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางมากขึ้น ด้วยแรงผลักดันจากแนวโน้มสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้

1. แนวโน้มของเว็บที่กลายเป็นสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารของคนทั่วโลก
ปัจจุบันเว็บเครือข่ายทางสังคม (โซเชียลเน็ตเวิร์ก) มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยผู้ใช้หลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ตัวอย่างเช่น เฟซบุ๊ค (Facebook) วิกิพีเดีย (Wikipedia) หรือทวิตเตอร์ (Twitter) เป็น ต้น ด้วยความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายของเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์กนี้เอง ทำให้ปัจจุบันเริ่มมีการนำเว็บแอพพลิเคชั่นรูปแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กร

โดย การเลือกใช้โซเชียล เน็ตเวิร์กผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งในองค์กร เพื่อระดมความคิดของพนักงานผ่านระบบออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ รูปแบบการใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้งดังกล่าวนี้สามารถรวบรวมข้อมูลจากพนักงาน18,000 คน โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปบริหารจัดการและวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้งานเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจต่อไป
นอกจากนั้น การสื่อสารอินเทอร์แอคทีฟในแบบเรียลไทม์ หรือที่เรียกว่าเว็บ 2.0 ก็ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันแนวโน้มการใช้งานทางด้านคลาวด์ คอมพิวติ้งให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบดังกล่าว นอกจากจะตอบสนองการทำงานของเว็บไซท์ที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลยังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยดึงประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่มาใช้งานได้อีกด้วย

2. แนวโน้มความต้องการประหยัดพลังงาน
ด้วย ปัญหาโลกร้อน และค่าใช้จ่ายของพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ใช้ในระบบไอที ทั้งนี้เพื่อช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศ ประโยชน์ของคลาวด์คอมพิวติ้งในด้านนี้ก็คือ การช่วยองค์กรลดการใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการนำพลังประมวลผลส่วนเกินที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานใน ระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก จากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า เครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลานั้น ส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในระบบเพียงแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ด้วยแนวคิดของคลาวด์ คอมพิวติ้งนี้เอง จะช่วยควบรวมทรัพยากรในระบบให้ทำงานและเกิดความคุ้มค่ารวมทั้งประโยชน์สูง สุดจากการใช้ทรัพยากรในระบบ นอกจากนั้นแล้ว วิธีการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเพิ่มหรือลดขนาดการใช้งานของ ระบบได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นการช่วยองค์กรประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

3.ความต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กร
ด้วยการแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรชั้นนำหลายแห่งต่างให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแตกต่างของ องค์กรในอีกทางหนึ่ง แนวโน้มการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวนี้เอง ถือเป็นการกระตุ้นการนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ ทั้งนี้ เพราะการสร้างสรรค์นวัตกรรมสามารถทำได้ด้วยการดึงคุณประโยชน์ของคลาวด์ คอมพิวติ้งซึ่งให้พลังการประมวลผลที่เหนือกว่า แต่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง

4. ความต้องการใช้งานไอทีที่ง่ายและไม่ซับซ้อน
ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความสลับซับซ้อนเพียงใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว หลายคนก็ยังต้องการการใช้งานที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ให้บริการทางด้านไอทีหลายรายในปัจจุบันจึงหันมาใช้เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง เพื่อนำเสนอบริการทางด้านซอฟต์แวร์แบบ ‘จ่ายเท่าที่ใช้’ (Software as a Service) เพื่อเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าโดยเฉพาะองค์กรขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ มักมีเจ้าหน้าที่ทางด้านไอที่ทำงานอยู่อย่างจำกัด แทนรูปแบบการซื้อซอฟต์แวร์มาใช้โดยตรงแบบในอดีต การใช้งานในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้การนำไอทีไปใช้งานทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว องค์กรนั้น ๆ ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการอัพเกรด เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่นในอดีต

5. การจัดระเบียบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ทุก วันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลต่าง ๆ มากมายในเว็บช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปัจจุบัน เราจะมีเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ช่วยเราหาข้อมูลที่ต้องการอยู่มากมาย แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยปริมาณข้อมูลในเว็บที่เพิ่มมากมายมหาศาลในแต่ละ วัน โดยเฉพาะข้อมูล และไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายล้านคนส่งขึ้นไปในเว็บในแต่ละวันนั้น หากไม่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบที่ดี การนำคุณประโยชน์ของเว็บมาพัฒนาต่อยอดให้กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุน ประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มรูปแบบก็อาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

คุณประโยชน์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของคลาวด์คอมพิวติ้งก็คือ ความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ให้เป็นระบบดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลมากมายหลากหลายประเภทให้ เป็นระบบ ซึ่งช่วยให้การค้นหาและเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ทำได้เร็วและถูกต้องแม่นยำ กว่าเดิม

ด้วยความสามารถและคุณประโยชน์อันมากมายดังที่กล่าวมานี้ ถือได้ว่าคลาวด์คอมพิวติ้งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งอนาคต และจะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างที่ไม่เคยมีมา ก่อน ดังนั้น ธุรกิจใดก็ตามที่สามารถฉกฉวยโอกาสและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ต่อธุรกิจของตนได้ก่อนก็ย่อมจะสร้างความได้เปรียบและโอกาสในการ ต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจขององค์กรได้ก่อนใคร

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ดังรูป


อีกนิยามหนึ่งของคำว่า คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)

นิยามที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆของคำว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ หรือ Cloud computing ที่น่าจะทำให้เข้าใจได้เร็วที่สุดคือ

“เป็นการเอาระบบสารสนเทศของบริษัทไปติดตั้ง หรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ตโดยมีองค์กรภายนอก (Third Party) เป็นผู้จัดเตรียมทรัพยากรคอมพิวเตอร์และดูแลระบบสารสนเทศของลูกค้าที่ได้นำมาติดตั้ง”

ความหมายสั้นๆแค่นี้หลายท่านอาจยังสงสัยว่าทำไม Cloud computing จึงเป็นกระแสที่มีการพูดถึงกันอย่างมากว่าจะเข้ามาช่วยให้การลงทุนและบริหาร จัดการเรื่องระบบสารสนเทศถูกและง่ายขึ้นได้อย่างไร อธิบายได้ดังนี้ครับ

   1. ประหยัดการลงทุนเรื่องทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะเปลี่ยนมาเป็นการเช่าระบบแทน ซึ่งทำให้บริษัทที่มีเงินลงทุนจำกัดสามารถมีระบบสารสนเทศที่ดีใช้ได้เท่า เทียมกับบริษัทอื่นๆ

   2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะว่าผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรขนาดใหญ่ไว้รองรับผู้ใช้บริการอยู่ แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมีระยะเวลาการ ออกแบบระบบ สั่งซื้อฮาร์แวร์ และติดตั้งฮาร์ดแวร์ ซึ่งแค่นี้ก็ลดระยะเวลาดำเนินการไปเป็นเดือนเลยทีเดียว

   3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ในกรณีที่ระบบของผู้ใช้บริการมีขนาดใหญ่ขึ้นก็ย่อมต้องขยายทรัพยากรให้เพิ่ม ขึ้นตามการใช้งาน ซึ่งระบบที่เป็นของบริษัทเองคงต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อและติดตั้งกัน วุ่นวายเสียเวลา ด้วยการใช้บริการ Cloud computing ก็ทำให้การเพิ่มขนาดทรัพยากรนั้นง่ายและรวดเร็วภายในข้ามคืนเท่านั้น

   4. ขจัดปัญหาเรื่องการดูแลระบบทรัพยากรสารสนเทศออกไปให้ผู้ให้บริการ Cloud computing ดูแลแทน จึงทำให้ลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อ ดูแลระบบอีกด้วย

ด้วยเหตุผลเหล่านี้นี่เองที่ทำให้แนว โน้มการลงทุนเปลี่ยนมาเป็นการชำระค่าบริการ เพื่อเช่าใช้ระบบ เพราะจะทำให้การบริหารจัดการลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัดตามข้อดีที่กล่าวมา แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการสำหรับผู้ใช้บริการจะต้องคำนึงเช่น

   1. บริษัทผู้ใช้บริการต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
   2. แอพลิเคชั่น หรือ ซอฟต์แวร์ที่จะนำมาติดตั้งอยู่บนระบบของผู้ให้บริการ Cloud computing ต้องไม่มีข้อจำกัดในการใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

แต่อย่างไรก็ตามสถานะการเรื่องโครงขายอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น รองรับการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ครอบคลุมพื้นที่หลักอย่างกรุงเทพ และปริมลฑล รวมถึงจังหวัดหลักๆทั่วประเทศในราคาที่ไม่แพง จึงทำให้แนวโน้มการใช้บริการลักษณะนี้เติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างศักยภาพให้ กับองค์กรทุกขนาดให้สามารถแข่งขันอย่างทัดเทียมกันมากยิ่งขึ้น

มาดูคลิปแนะนำคลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)คืออะไรกัก่อนจบบทความนี้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น