ฝ้าเกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาและกำจัดฝ้าได้อย่างไร?


เมื่อสาวๆ ได้ยินคำว่า ฝ้า คงอยากจะหนีไปไกลๆ ใบส่วนหนึ่งของฝ้าที่ขึ้นบนใบหน้านั้นทำให้หน้าดูหมองคล้ำ ไม่สวยใสเด้งปิ๊ง นี่เลยเป็นปัญหาหนักอกของสาวๆ

ฝ้าคืออะไร


ฝ้า มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม พบมาบริเวณแก้ม หน้าผาก จมูก และคาง นอกจากนี้อาจจะพบได้ที่คอ และตามแขนด้านนอก มักจะเป็น 2 างเท่าๆกัน ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงเวลาตั้งครรภ์ พบมากในผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยอายุมากขึ้นจะมีโอกาสเกิดฝ้าได้มาก

ฝ้าเกิดจากอะไร

ฝ้าเกิดจากแสงแดด : อันเป็นปัจจัยสำคัญสุดในการเกิดฝ้า และมีส่วนทำให้ผิวเกิดความหมองคล้ำ ซึ่งเกิดจากแสงอุลตราไวโอเลต A, B และ Visibal Light ส่วนแสงแดดที่ควรหลีกเลี่ยงควรเป็นช่วงเวลา 1.00 - 17.00น.

ฮอร์โมน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์

เครื่องสำอางค์ และน้ำหอม : ล้างออกไม่หมด เกิดการอุดตัน เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

พันธุกรรม : จากคนในครอบครัวที่เคยเป็น

ยา : จำพวกยาคุมกำเนิด, ยากันชัก เป็นต้น

การจำแนกประเภทของฝ้า

1. ฝ้าจากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาคุมกำเนิดบางชนิด เมื่อคลอดลูกแล้ว หรือหยุดใช้ยาคุมกำเนิด ฝ้าก็จะค่อยๆ จางลงได้

2.  ฝ้าจากเลือดลม ไม่สามารถหายได้

ชนิดของฝ้า

ฝ้ามีทั้งชนิดฝ้าตื้นและฝ้าลึก

 ฝ้าตื้น คือ ฝ้าที่อยู่ในชั้นหนังกำพร้าจะมองเห็นเป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน

 ฝ้าลึก คือ ฝ้าที่อยู่ใต้ชั้นหนังกำพร้า จะมองเห็นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ฝ้าลึกจะรักษาให้หายได้ยากกว่าฝ้าตื้น

สำหรับคุณๆที่ได้รู้ว่าตนเองเป็นฝ้าประเภทไหน ชนิดใด เกิดได้อย่างไรมาแล้ว วันนี้ก็มาถึงวิธีในการรักษาและกำจัดฝ้ากันแล้ว...

วิธีในการรักษาและกำจัดฝ้า

1. การทายาฟอกสี เช่น ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ กรดอาเซลิก กรดโคจิก จะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสร้างเม็ดสี ควรใช้ทุกวันอย่างต่อเนื่องจนสีของฝ้าค่อยๆ เรียบเสมอ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นทาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเกิดขึ้นอีก การใช้ยาชนิดนี้อาจมีข้อแทรกซ้อนได้ เช่น หน้าดำและเกิดจุดด่างขาวได้เมื่อถูกแสงแดด ดังนั้นควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะยาบางชนิดอาจมีสารปรอท เมื่อใช้ในช่วงแรก ฝ้าจะจางลง แต่ในระยะยาวอาจเกิดผลเสียต่อผิวได้ เช่น กลายเป็นรอยด่างขาว หรือเกิดสีผิวคล้ำขึ้นได้ หรือกลายเป็นฝ้าถาวรได้

2. การใช้สารเคมีลอกฝ้า เช่น เอ เอช เอ (AHA) ซึ่งเป็นเอนไซม์จากผลไม้ มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ทำให้เซลล์ชั้นบนของผิวลอกออก และเร่งให้เม็ดสีเมลานินหลุดออกมาเร็วขึ้น ช่วยให้ฝ้าจางลงได้ แต่ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อแทรกซ้อน เช่น การระคายเคืองผิว

3. การทาครีมปรับสภาพผิวที่มีส่วนผสมของสารไวท์เทนนิ่ง เช่น สารสกัดจากรากชะเอม (Licorice) สารสกัดจากมะขามป้อม ขมิ้น และวิตามินซี ควรทาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า

4. การทาครีมกันแดด ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเข้มขึ้นหรือเกิดฝ้าใหม่ขึ้นอีก

5. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด โดยเฉพาะช่วงเวลา 1.00 - 17.00 น.

6. การใช้ Light Therapy เช่น VPL เพื่อช่วยในการปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ

7. การใช้แสงเลเซอร์ ทำลายเซลล์เม็ดสี จะช่วยให้ฝ้าจางลงได้ ควรใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล

นี่อาจจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการที่จะทำให้คุณพอเรื่องในเรื่องปัญหาฝ้า บ้าง เพื่อจะได้มีสุขภาพผิวที่ดีๆ ห่างไกลคำว่าฝ้าบนใบหน้าคุณ

วิธีลดรอยฝ้าและใบหน้าหมองคล้ำ

 ฝ้า เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบมากในอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

 สาเหตุ
     เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ผิวหนังมีการสร้างเม็ดสีมากกว่าปกติพบมากในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กินหรือ ฉีดยาคุมกำเนิด แต่ก็อาจพบใน ผู้ชาย และผู้หญิงทั่วไป  

      - ผู้ที่ถูกแสงแดด หรือแสงไฟ (แสงอัลตราไวโอเลต) บ่อยอาจมีโอกาสเป็นฝ้าได้ง่าย และ
เชื่อว่ากรรมพันธุ์ก็มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการเกิดฝ้า

     - ความเครียด สารเคมี (เช่น น้ำมันดิน) น้ำหอม เครื่องสำอาง ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือรอยด่างดำบนใบหน้าได้
     - ผู้ที่เป็นโรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน  ก็อาจทำให้หน้าเป็นฝ้าดำได้ เช่นกัน บางคนอาจเกิดฝ้าโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้

 อาการ
     มีลักษณะเป็นรอย หรือปื้นสีน้ำตาลออกดำขึ้นที่บริเวณใบหน้าส่วนที่ถูกแสงแดดมาก ๆ เช่น หน้าผาก โหนกแก้มทั้งสองข้าง และดั้งจมูก บางคนอาจมีรอยดำ ที่หัวนม รักแร้ ขาหนีบ หรืออวัยวะเพศร่วมด้วย

 การดูแลเบื้องต้น
  - พยายามอย่าถูกแดดมาก (เวลาออกกลางแจ้ง ควรใส่หมวก หรือกางร่ม) ควรหลบแสงไฟแรง ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอม และเครื่องสำอาง ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และอย่าให้อารมณ์เครียด
 - การใช้ยารักษา (อยู่ในความดูแลของแพทย์)
 - ผลิตภัณฑ์กันแดด ค่า SPF 15 ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น