10 พืชสมุนไพรไล่ยุงและสารป้องกันยุง

ช่วงนี้กำลังจะเข้าสู่หน้าฝนกันแล้ว บ้านใครที่ยุงเยอะ ยุงชุม ลองหาพืชสมุนไพรไล่ยุงมาปลูกกันครับ ซึ่งพวกพืชสมุนไพรไล่ยุงเหล่านี้ จะมีสารป้องกันยุงอยู่ แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่ามีพืชสมุนไพรไล่ยุงอะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับสารป้องกันยุงที่ใช้ทาผิวหนังกันก่อนครับ

สารป้องกันยุง ใช้ทาผิวหนังเนื่องจากมีกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ทำให้ยุงบินหนีไปไม่เข้ามาใกล้ (มีคุณสมบัติเป็น repellent) จึงช่วยป้องกันมิให้ยุงกัด สารนั้นอาจเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษต่อยุงก็ได้ สารป้องกันยุงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
สารที่สกัดได้จากพืช เช่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันจากต้นน้ำมันเขียว (ยูคาลิปตัส) เป็นต้น
สารที่สังเคราะห์ขึ้นมา เช่น N,N-diethyl-m-toluamide และ 2-ethyl-1,3-hexanediol และ 1,1-carbonylbis (hexahydro-1H-azepine) เป็นต้น

สารป้องกันยุง ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นอันตรายหรือทำความระคายเคืองต่อผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆของร่างกาย
2. ป้องกันยุงกัดได้เป็นเวลานานพอควร
3. สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
4. ไม่มีสี ไม่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า
5. ไม่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง (สำหรับคน)
6. ใช้ง่ายและสะดวก
7. ไม่เหนียวเหนอะหนะ ชำระล้างออกได้ง่าย
8. ราคาไม่แพง

10 พืชสมุนไพรไล่ยุง มีดังต่อไปนี้


1. มะกรูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystri
ลักษณะ มะกรูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบหนาและมีรอยคอดตรงกลาง ดอกสีขาว ผิวของผลมะกรูดขรุขระเป็นปุ่มปมทั้งลูก น้ำในลูกมีรส เปรี้ยว มีหนามแหลมยาวตามลำต้นและกิ่ง
ส่วนที่ใช้ ผล
วิธีใช้ นำผิวของผลมะกรูดสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำโดยใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้

2. ไพลเหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber cassumunar
ลักษณะ ไพลเหลืองเป็นพืชหัว หัวเป็นแง่งโตติดกันเป็นพืด ใบเล็กยาว ปลายแหลม
ส่วนที่ใช้ หัว
วิธีใช้ นำหัวไพลเหลืองสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้วกรองเอาแต่ ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง แต่มีข้อเสียคือทำให้ผิวหนังติดสีเหลืองล้างออกยาก

3. สะระแหน่ ชื่อวิทยาศาสตร์  Mentha arversis  
ลักษณะ  สะระแหน่เป็นพืชเลี้อยตามพื้นดิน ลำต้นสีแดงเข้ม ใบกลมขนาด หัวแม่มือ ใบค่อนข้างหนา ริมใบหยักโดยรอบและมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
วิธีใช้  ขยี้ใบสะระแหน่สดทาถูที่ผิวหนังโดยตรง

4. กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์  Allium sativum  
ลักษณะ  กระเทียมเป็นพืชหัว ประกอบด้วยกลีบเล็กๆ เกาะกัน โดยมีเยื่อ บางๆ สีขาวหุ้มหัวไว้เป็นชั้นๆ ใบยาว แข็งและหนา ดอกเป็นช่อ เล็กๆ สีขาวรวมกันเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายก้านดอก
ส่วนที่ใช้  หัว
วิธีใช้  นำหัวกระเทียมสดมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง หรือจะใช้หัวกระเทียมสด ทาถูที่ผิวหนังโดยตรงก็ได้

5. กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum sanotum  
ลักษณะ  กะเพราเป็นไม้พุ่มเตี้ย ลำต้นและใบมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ที่ นิยมปลูกตามบ้านมี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว ใบสีเขียว และ กะเพราแดง ใบมีสีออกแดงเลือดหม ู
ส่วนที่ใช้  ใบ
วิธีใช้  ขยี้ใบสดหลายๆ ใบวางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันกะเพราที่ระเหยออก มาจากใบจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้ หรือจะขยี้ใบสดแล้วทาถูที่ ผิวหนังโดยตรงก็ได้ แต่กลิ่นน้ำมันกะเพรานี้ระเหยหมดไปค่อน ข้างเร็วจึงควรหมั่นเปลี่ยนบ่อยครั้ง

6. ว่านน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์  Acorus calamus
ลักษณะ  ว่านน้ำเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมหนองน้ำหรือบริเวณที่ชื้นแฉะ เหง้า เป็นเส้นกลมหนา สีขาวออกม่วง เจริญงอกงามตามยาวขนานกับ ผิวดิน รากเล็กเป็นฝอย ใบแตกจากเหง้า ลักษณะเป็นเส้นตรง ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบชัดเจน ช่อดอกทรง กระบอกสีเหลืองออกเขียว
ส่วนที่ใช้  เหง้า
วิธีใช้  หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาโขลกผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง

7. แมงลัก ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum citratum
ลักษณะ  แมงลักเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร ดอกสีขาว เป็นช่ออยู่ปลายกิ่ง
ส่วนที่ใช้  ใบ
วิธีใช้  ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง

8. ตะไคร้หอม ชื่อวิทยาศาสตร์  Cymbopogon nardus
ลักษณะ  ตะไคร้หอมขึ้นเป็นกอ ลักษณะคล้ายตะไคร้บ้านแต่ใบยาวกว่าและ ลำต้นมีสีแดง ดอกเป็นพวงช่อฝอย
ส่วนที่ใช้  ต้นและใบ
วิธีใช้  นำต้นและใบสดมาโขลกผสมกับน้ำ ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1 แล้ว กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ทาผิวหนัง หรือนำต้นสด 4-5 ต้นมา ทุบแล้ววางไว้ใกล้ตัว กลิ่นน้ำมันตะไคร้หอมที่ระเหยออกมาจะช่วย ไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล

9. ต้นยูคาลิปตัส ชื่อวิทยาศาสตร์  Eucalyptus citriodara
ลักษณะ ยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นสูง ใบยาวรี ค่อนข้างหนา
ส่วนที่ใช้  ใบ
วิธีใช้  ขยี้ใบสดทาถูที่ผิวหนัง

10. ต้นไม้กันยุง (มอสซี่ บัสเตอร์)
      ต้นไม้กันยุงเป็นพันธุ์ไม้ที่ได้รับการพัฒนาโดยวิธีการทางพันธุ์วิศวกรรม ระหว่างพันธุ์ไม้ 2 ตระกูล คือ อาฟริกัน เจอราเนียม (African Geranium) และตะไคร้หอม (Citronella) ต้นไม้กันยุงจึงมีลักษณะคล้ายต้นเจอราเนียม แต่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆของต้นตะไคร้หอม เนื่องจากน้ำมันตะไคร้หอมมีคุณสมบัติในการไล่ยุง (เป็น repellent)       ต้นไม้กันยุงนี้จึงสามารถไล่ยุงได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้และพื้นที่ที่ใช้งาน เช่นต้นไม้กันยุง อายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูงจากผิวดินประมาณ 6 นิ้ว กลิ่นน้ำมันที่ระเหยออกมาจากต้นไม้จะสามารถไล่ยุงได้ในพื้นที่ประมาณ 100 ตารางฟุต เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในต้นไม้กันยุงจะมีสารอยู่สองชนิด คือ สารที่มีคุณสมบัติเป็นสารดึงดูดยุง (attractant) และสารไล่ยุง (repellent) ต้นไม้กันยุงที่ยังเล็กจะมีสารดึงดูดยุงมากกว่าสารไล่ยุง ต่อเมื่อโตขึ้นสารดึงดูดยุงจะค่อยๆลดปริมาณลง จนสารไล่ยุงสามารถแสดงคุณสมบัติได้เต็มที่  
ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม ใบแตกออกจากทั้งตายอดและตาข้าง ขอบใบหยัก
ส่วนที่ใช้  ใช้ทั้งต้น โดยจะปลูกเป็นไม้ประดับ ในขณะเดียวกันก็จะช่วยไล่ยุง ไม่ให้เข้ามาใกล ้
วิธีใช้  วางกระถางที่ปลูกต้นไม้กันยุงไว้ในห้อง สามารถไล่ยุงได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ต้นไม้ก็ต้องการแสงแดดเพื่อการสังเคราะห์แสง จึง ควรนำต้นไม้ไปรับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมงและรดน้ำให้ ชุ่มในเวลาเช้า หากแสงแดดไม่จัด ควรให้น้ำพอสมควรเพื่อ ป้องกันมิให้รากเน่า

เป็นไงกันบ้างครับ ลองหาพืชสมุนไพรไล่ยุงมาปลูกกันนะครับ หรือจะแนะนำเพิ่มเติม ก็โพสต์คอมเม้นท์ ใต้บทความได้เลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น