ถ้าพูดถึงเรื่องการ
คุมกำเนิด หลายคนคงคิดถึงการทำอย่างไรไม่ให้มีลูกเท่านั้น แต่ความเป็นจริงนั้น มันเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตคู่ การเริ่มต้นของการใช้ชีวิตคู่ของคนสองคน ซึ่งมาจากครอบครัวและการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ย่อมมีความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนอุปนิสัยและพฤติกรรมแตกต่างกันออกไปด้วย แต่เมื่อมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ก็ต้องมีการปรับตัวปรับใจเข้าหากัน มีสัมพันธภาพที่ดีและสอดคล้องต้องกันร่วมกันสร้างครอบครัวที่อบอุ่น และมีการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
การ
คุมกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนครอบครัวของชีวิตคู่ในขณะที่ไม่พร้อมจะมีลูก
ถึง แม้การ
คุมกำเนิดจะมีการรณรงค์ เผยแพร่ และการปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งหน่วยงานเอกชน และรัฐบาล แต่ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการคุมกำเนิดก็ยังมีอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมาในขณะที่ครอบครัวยังไม่มีความพร้อม
อาจารย์จริยาวัตร คมพยัคฆ์ แห่งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการ
คุมกำเนิดไว้ว่า
- หญิงหลังคลอดยังไม่มีประจำเดือนจะไม่คุมกำเนิดเพราะคิดว่าไม่ตั้งครรภ์
- ถ้าบุตรยังดูดนมอยู่จะไม่ตั้งครรภ์โดยไม่ต้อง
คุมกำเนิด
- ถ้าแม่ของหญิงหลังคลอดเคยมีบุตรห่างจะคิดว่าตนเองน่าจะมีบุตรห่างด้วย จึงไม่คุมกำเนิด
- หลังแท้งถ้าประจำเดือนยังไม่มาจะไม่ตั้งครรภ์
- การใช้ถุงยางอนามัยทำให้เกิดความรู้สึกดีไม่เท่าธรรมชาติ
- การหลั่งภายนอกช่องคลอดทำให้ไม่ตั้งครรภ์
- การนับวันปลอดภัยคิดว่าป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ๑oo เปอร์เซ็นต์
- ฝ่ายหญิงเท่านั้นมีหน้าที่ที่จะต้องป้องกันการตั้งครรภ์ เช่นกินยา
- ผู้ชายทองแดง (อัณฑะมี testis ข้างเดียว) เป็นหมัน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าผู้หญิงจะตั้งครรภ์
- ถ้าสามีไม่อยู่ด้วยประจำ เช่น ไปต่างจังหวัดนานๆ จะกินยาคุมเฉพาะเวลาสามีกลับมาคือก่อนการร่วมเพศ
- ใช้ถุงยางอนามัยซ้ำ (ล้างและเก็บไว้แบบถุงมือ) ได้
- ลืมกินยาแล้วไม่ท้อง ก็เลยลืมบ่อยๆ คิดว่าไม่เป็นไร
- ฝ่ายชายคิดว่าทำหมันแล้วหมดสมรรถภาพ
- หลังร่วมเพศ ฝ่ายหญิงล้างช่องคลอดด้วยน้ำส้มสายชู หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ จะทำให้ไม่ตั้งครรภ์ เพราะเชื้ออสุจิตายแล้ว
- การร่วมเพศครั้งที่สอง (ในเวลาเดียวกัน) ไม่ต้องสวมถุงยางอนามัย เพราะอสุจิหลั่งออกไปหมดแล้วตั้งแต่การร่วมเพศครั้งแรก
และอื่นๆ
|
รูปแสดงการเดินทางของไข่จากรังไข่ ผ่านปีกมดลูกผสมกับเชื้ออสุจิ และมาอยู่ที่มดลูก |
จาก การเข้าใจผิดๆข้างต้นจะเห็นว่าถึงแม้คู่สมรสจะเตรียมการ
คุมกำเนิด แต่เมื่อไม่เข้าใจรายละเอียดการคุมกำเนิด ก็ไม่สามารถที่จะคุมกำเนิดให้ได้ผลอย่างจริงจังได้ ดังนั้นเราจึงเชิญนายแพทย์พนิตย์ จิวะนันทประวัติ มาตอบคำถามที่มักจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับวิธี
คุมกำเนิดที่บางท่านยังไม่เข้าใจ
ถาม-ตอบ 30 ข้อเกี่ยวกับการคุมกำเนิด จากหมอชาวบ้าน มีอะไรบ้าง ไปอ่านกันเลย
1. บางคน
คุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย แล้วทำไมจึงตั้งครรภ์ได้
สามี ภรรยาจำนวนไม่น้อยมีเพศสัมพันธ์กันจนกระทั่งฝ่ายชายใกล้ถึงจุดสุดยอดจึงค่อย ใส่ถุงยางอนามัย ซึ่งอันนี้เป็นวิธีที่ผิด เพราะว่าฝ่ายชายในขณะที่มีเพศสัมพันธ์จะมีตัวเชื้อออกมาบ้างแล้ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องถึงจุดสุดยอด ฉะนั้นจึงทำให้ภรรยาตั้งครรภ์ได้
การ ใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องต้องใช้ตั้งแต่เริ่มต้นคือเวลาที่อวัยวะเพศชาย แข็งตัวต้องใส่ทันที เมื่อถึงจุดสุดยอดแล้วขนาดของอวัยวะเพศชายจะเล็กลงจึงไม่ควรแช่ไว้ เพราะน้ำเชื้ออาจจะออกจากถุงยางได้
นี่คือเหตุผลหนึ่งที่บางคนเข้าใจผิด คิดว่าหลั่งภายนอกช่องคลอดจะไม่ทำให้ตั้งครรภ์เพราะคิดว่าถึงจุดสุดยอดเชื้อ จึงออกมา แต่ความจริงออกมาบ้างแล้วตั้งแต่ยังไม่ถึงจุดสุดยอด
2. หากถุงยางหมดอายุจะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หรือไม่
การใช้ถุงยางที่หมดอายุหรือคุณภาพไม่ดี ก็มีส่วนทำให้ป้องกันการคุมกำเนิดไม่ได้ผล เพราะถุงยางอาจฉีกขาดหรือรั่วได้
3. การใช้ถุงยางให้ความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติจริงหรือไม่
การ ที่บ้านเรายังใช้ถุงยางอนามัยกันน้อย เพราะเข้าใจว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนคันแล้วเกานอกเสื้อ แต่ที่จริงก็ได้ความรู้สึกเหมือนกัน บางคนที่มีความรู้สึกไว หลั่งเร็ว การใช้ถุงยางจะช่วยตรงนี้ได้ด้วย
4. การใช้ถุงยางอนามัยมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร
การ ใช้ถุงยางอนามัยเป็นการคุมกำเนิดที่ดีต่อฝ่ายหญิง เพราะไม่ต้องกังวลกับปัญหาในเรื่องผลข้างเคียงของการกินหรือฉีดยาคุมกำเนิด รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อจากโรคทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ได้
5. ปกติการ
คุมกำเนิดโดยนับวันของรอบเดือนถือว่าช่วงไหนเป็นวันปลอดภัย
ช่วง ที่ไข่ฝ่อและเยื่อบุมดลูกสลายตัวหลุดออกจากผนังมดลูกและช่วงเวลาที่ไข่เริ่ม เจริญเติบโต เป็นช่วงที่ถือว่าปลอดภัยจากการที่จะมีลูก คือ ระหว่างช่วง 7 วันก่อนมีประจำเดือนวันแรก และ 7 วันหลังมีประจำเดือนวันแรก
ช่วงที่ตกไข่ คือ ช่วงหลังวันที่ 7-21 ของรอบเดือนจึงเป็นช่วงที่ไม่ปลอดภัยมีโอกาสมีลูกได้
6. การนับวันปลอดภัย ทำไมถึงไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์
การ คุมกำเนิดโดยวิธีใช้นับรอบเดือนนั้น ส่วนใหญ่รอบเดือนของผู้หญิงมักคลาดเคลื่อน โดยเฉลี่ยประจำเดือนแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน หรือ 28 บวกลบ 7คือ บางคนอาจจะประมาณ 21 วัน (28-7) หรือบางคนอาจจะ 35 วัน (28+7) ซึ่งถือว่ามาปกติ
ปัญหาของการ นับวันโดยวิธีธรรมชาติ คือ หากรอบเดือนเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีปัจจัยอะไรมาเกี่ยวข้อง เช่น ความเครียด การเจ็บป่วย ก็ทำให้ประจำเดือนมาเร็ว หรือเลื่อนออกไป การคุมกำเนิดก็อาจพลาดได้ นี่คือเหตุผลที่ว่าการนับวันอาจพลาดได้ถ้าเดือนใดประจำเดือนมาคลาดเคลื่อน
7. หลังคลอด หรือหลังจากแท้งลูก หรือลูกดูดนม และประจำเดือนยังไม่มา จะไม่ตั้งครรภ์จริงหรือไม่
ที่ถือว่าประจำเดือนยังไม่มาจะไม่มีลูกนั้น ไม่จริง เพราะรังไข่ของฝ่ายหญิงอาจเพิ่งเริ่มทำงาน ดังนั้นโอกาสที่จะมีลูกจึงเป็นไปได้
8. การกินยา
คุมกำเนิดกินช่วงไหนของเดือนก็ได้ ใช่มั้ย
การคุมกำเนิดนั้นไม่ใช่กินตอนไหนก็ได้ผล
การคุมกำเนิดที่ได้ผลนั้นต้องเริ่มกินในวันที่ถูกต้อง คือ กินในวันแรกที่มีรอบเดือน หรือในช่วงที่มีประจำเดือนภายใน 5 วันแรกเท่านั้น
ที่ สำคัญการกินยาคุมกำเนิดต้องกินติดต่อกันทุกวัน และควรเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน แต่ละเม็ดไม่ควรห่างกันนานกว่า 24 ชั่วโมง กินหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอนจะดี เพราะยาคุมจะออกฤทธิ์ ซึ่งเป็นเวลาที่หากเกิดผลข้างเคียงก็อยู่ที่บ้าน
การกินยาคุมต้องกินติดต่อกันตามกำหนด ไม่ใช่วันไหนไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่กิน วันไหนมีเพศสัมพันธ์ก็กิน เช่นนี้คุมไม่ได้
|
ยาเม็ดคุมกำเนิด |
9.
ยาคุมกำเนิดทำไมมี 21 เม็ด กับ 28 เม็ด
ยาคุมกำเนิดจะมีสองชนิดคือ ชนิด 21 เม็ด และ 28 เม็ด
ชนิด 21 เม็ด เมื่อกินหมดแผงแล้วก็ให้เว้น 7 วัน แล้วจึงเริ่มแผงใหม่ต่อไป
สำหรับ ชนิด 28 เม็ดนั้น เขาให้กินทุกวันติดต่อกันแผงต่อแผง อันที่จริง 28 เม็ดก็มีตัวยาเพียง 21 เม็ด อีก 7 เม็ดสุดท้ายซึ่งจะมีสีแตกต่างกันนั้น ไม่ได้เป็นยาคุม เป็นวิตามินหรืออื่นๆ
10. หากลืมกินยาคุมไป 1 เม็ด ควรทำอย่างไร
หากลืมกิน 1 เม็ดให้รีบกินยาทันทีที่นึกได้ และกินเม็ดต่อไปตามปกติ
หาก ลืมกินในช่วงอาทิตย์แรกและอาทิตย์สุดท้ายก็มีโอกาสน้อยที่จะมีลูก แต่ถ้าลืมกินและมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 และ 3 โอกาสที่จะมีลูกได้จึงสูง ดังนั้นหากลืมกินจึงควรเปลี่ยนเป็นใช้ถุงยางอนามัย
11. ได้ยินว่ากินยาคุมแล้วมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้อ้วน แพ้ยา จริงหรือไม่
คนที่กินยาคุมมีแนวโน้มที่จะอ้วนมากกว่าคนไม่ได้กิน เพราะยาจะสะสมในร่างกายในรูปไขมัน จึงควรควบคุมการกินอาหาร
ส่วน ในเรื่องแพ้ยาคุมนั้นเป็นความเข้าใจผิด อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลข้างเคียงของยา เช่น กินแล้วบางคนอาจคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ตื่นนอนตอนเช้าอยากอาเจียน
12. ใครที่ไม่ควรกิน
ยาคุมกำเนิด
คน ที่ไม่ควรกินยาคุมคือคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับเลือด ปวดหัวบ่อยๆ เป็นโรคเกี่ยวกับตับ เป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งมาก่อน คนที่มีโรคเหล่านี้ไม่ควรกินยาคุม
สำหรับคนที่กินยาคุมแล้วรู้สึกผิดปกติก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะความเหมาะสมที่จะเลือกใช้ยาในการคุมกำเนิดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
13.
ยาคุมกำเนิดชนิดกินหลังร่วมเพศได้ผลแน่นอนหรือไม่
การ กินยาคุมกำเนิดคือ กินก่อนร่วมเพศหรือหลังร่วมเพศ แต่ประเภทหลังนี้ทางการแพทย์ยังไม่ยืนยันว่าใช้คุมกำเนิดได้แน่นอน ยานี้เขามีข้อกำหนดว่าต้องมีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อย ประมาณอาทิตย์ละ 1ครั้ง เป็นอย่างมาก และต้องกินยาทันทีภายใน 1 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ ถ้าช้าไปกว่านั้นอาจท้องได้
14.
ยาคุมกำเนิดแบบฉีด แต่ละครั้งคุมได้นานเท่าใด
ปัจจุบัน ยาฉีดคุมกำเนิดนั้น ฉีดครั้งหนึ่งมีฤทธิ์คุมกำเนิดได้ 3 เดือนโดยจะฉีดบริเวณสะโพก เมื่อฉีดแล้วตัวยาจะอยู่ที่สะโพก และค่อยๆขับฮอร์โมนออกมา
15. ควรเริ่มฉีด
ยาคุมกำเนิดเมื่อไร
การฉีดยา คุมกำเนิดก็เหมือนกับยากิน คือ ต้องเริ่มภายใน 5 วันแรกของรอบเดือนก่อนที่รังไข่จะทำงาน ถ้ารังไข่ทำงานแล้วจึงฉีด มีโอกาสท้องได้เช่นกัน
16. หลังจากฉีด
ยาคุมกำเนิด ประจำเดือนยังคงมาปกติหรือไม่
คน ที่ฉีดยาคุมกำเนิดต้องเข้าใจว่า เมื่อฉีดยาคุมแล้ว รอบเดือนจะผิดปกติเกือบทุกคน รอบเดือนจะมาไม่เหมือนเดิม ระยะแรกจะมากะปริดกะปรอย ไม่แน่นอน ฉีดนานๆหลายเข็มเข้า ประจำเดือนจะหายไปเลย
แต่ถ้าหยุดฉีดไประยะหนึ่ง ฮอร์โมนจากธรรมชาติก็เริ่มใหม่ ประจำเดือนก็จะมาปกติ
17. มีบางคนบอกว่า ถ้าฉีดยานานๆจะมีโอกาสเป็นหมันจริงหรือไม่
ไม่จริงครับ แต่จะทำให้มีลูกช้าได้
คนที่ฉีดยาต้องวางแผน เพราะไม่ใช่เมื่อพร้อมที่จะมีลูก หรืออยากมีลูกเมื่อไรแล้วหยุดฉีดจะมีลูกได้ทันที แต่ต้องรอไประยะหนึ่ง เช่น ฉีดไป 2 ปีกว่า ยาจะหมดฤทธิ์ก็ต้องรออีก 9 เดือน ถ้าฉีดนานปีกว่านี้ก็จะรอยาวนานขึ้นอีก การจะใช้ยาฉีด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อจะได้ตรวจร่างกายให้พร้อม
18. มีข้อควรระวังอย่างไรในการใช้ยาฉีด
เมื่อ ฉีดยาแล้ว อย่าไปคลึงหรือขยี้บริเวณที่ฉีด เพราะจะทำให้ตัวยาในร่างกายน้อยวันลง แทนที่จะอยู่ได้ 90 วัน หรือ 1 เดือน ก็อาจเหลือเพียงแค่ 80 วัน ถึงแม้การฉีดยาคุมนี้จะอยู่ได้ 3 เดือน แต่ส่วนใหญ่หมอมักนัดคนไข้มาฉีดก่อน 1 สัปดาห์
19. การใช้ยาฉีด
คุมกำเนิดมีผลข้างเคียงอย่างไรหรือไม่
ผลข้างเคียงของยา ได้แก่ น้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดหัว หงุดหงิด ปวดท้อง วิงเวียนและอ่อนเพลีย
20. การ
คุมกำเนิดโดยใส่ห่วงอนามัยนั้นเหมาะสำหรับคนประเภทใด
คนที่เหมาะสมในการใส่ห่วงอนามัยนั้น ควรเป็นคนที่เคยมีลูกแล้ว เพราะคนที่ไม่เคยมีลูก จะใส่ลำบาก และอาจจะทำให้ปวดท้องได้
21. การใส่ห่วงอนามัยช่วงใดที่ถือว่าเหมาะสม
จะใส่ห่วงเวลาใดก็ได้ แต่การใส่ในช่วงที่กำลังมีรอบเดือนจะใส่ง่ายที่สุดครับ
22. หลังจากใส่ห่วงแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
เมื่อ ใส่เรียบร้อยแล้วก็มาตรวจตามที่หมอนัด อาจ 1-2 เดือนต่อครั้ง ดูว่าห่วงอยู่เรียบร้อยหรือไม่ ถ้าห่วงไม่กระชับจะได้ทำให้กระชับขึ้น เมื่อใส่ได้ระยะหนึ่งมดลูกจะปรับตัวของมันเอง ทำให้ห่วงอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะอยู่
ปัจจุบันยังไม่มีห่วงอนามัยที่ดี ที่สุด คือใส่แล้วเหมือนไม่ได้ใส่อะไรเลย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็มีการค้นคว้าตลอดเวลาเพื่อจะผลิตห่วงที่ใส่แล้วลืมเหมือนใส่ แหวนอยู่
23. การใส่ห่วงอนามัยมีผลข้างเคียงอย่างไรหรือไม่
ผลข้างเคียงของการใส่ห่วงอนามัยคือ ใส่แล้วอาจมีรอบเดือนมากขึ้น ปวดประจำเดือนมากขึ้น ตกขาวอาจมีบ้าง
24. การใส่ห่วงอนามัยสามารถ
คุมกำเนิดได้กี่ปี
ห่วงอนามัยในปัจจุบัน เป็นแบบอยู่ได้ 3ปี กับ 5 ปี เปลี่ยนครั้ง ควรปรึกษาผู้ให้บริการ
25. การฝังยาคุมกำเนิดทำอย่างไร และฝังตรงส่วนไหนของร่างกาย
การ ฝังยาคุมกำเนิดจะฝังที่ท้องแขน ยาที่ใช้ฝังจะเป็นเม็ดแคปซูลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ตอนใส่ไม่ยาก ครู่เดียวก็เสร็จ แต่ตอนเอาออกต้องใช้เวลานาน
26. การ
คุมกำเนิดด้วยการฝังยา คุมได้นานกี่ปี
การ ฝังยาในการคุมกำเนิด คุมได้ประมาณ 5 ปี ปัจจุบันบ้านเรายังไม่แพร่หลาย เพราะมีราคาแพง ยานี้ฝังแล้วคุมกำเนิดได้ 5 ปี แต่ส่วนใหญ่แล้วฝังไม่ถึง 5 ปีก็ผ่าออกกัน เพราะว่ามีผลข้างเคียงคือ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย บางคนทนรำคาญไม่ไหว เลยให้หมอผ่าออก
|
ถุงยางอนามัยผู้หญิง |
27. แล้วที่เคยได้ยินว่ามี
ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิง ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ถุง ยางอนามัยผู้หญิง อันนี้คงเกิดขึ้นเพราะมีเรื่องโรคเอดส์เป็นตัวนำ เมื่อผู้ชายไม่ยอมใส่ถุงยาง ฝ่ายหญิงก็เลยนำมาใช้ป้องกันตนเอง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมกัน อาจเป็นเพราะรูปร่างดูแล้วเหมือนถุงกาแฟ ใส่ลำบาก
28. นอกจากการ
คุมกำเนิดวิธีดังกล่าวข้างต้น ยังมีวิธีอื่นอีกหรือไม่
นอกจากที่กล่าวมาทั้ง 7 แบบ ยังมีการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ แต่ยังไม่นิยมใช้ในเมืองไทย หรือเพิ่งจะนำเข้ามาทดลองใช้ เช่น
|
ไดอะแฟรมพร้อมเยลลี่คุมกำเนิด |
ไดอะแฟรม มีรูปร่างคล้ายกระทะ ขอบเป็นวงแหวน ขอบยางยืดหยุ่นได้ ตัวเป็นยาง ใส่ในช่องคลอดเพื่อปิดกั้นไม่ให้เชื้ออสุจิผ่านเข้าไปถึงปากมดลูก ก่อนใส่จะมีครีมทาควบคู่กัน นอกจากจะช่วยหล่อลื่นแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเล็ดลอดเข้าไป แต่ใช้ชั่วคราว คือใส่เมื่อมีเพศสัมพันธ์แล้วก็นำออก
ยังมีชนิดอื่นๆอีกแต่ยังไม่แพร่หลายในไทย
29. ทุกคนจะเลือกทุกวิธี
คุมกำเนิดได้จริงหรือไม่
การเลือกวิธีคุมกำเนิดนั้น ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลว่าจะเลือกใช้วิธีใด ไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะสมกับทุกวิธี
30. ทำไมการ
คุมกำเนิดจึงมักเป็นฝ่ายหญิงคุม
การ คุมกำเนิดต้องยอมรับว่า ผู้หญิงเป็นผู้ที่ต้องรับภาระเสียเป็นส่วนมาก เพราะกระบวนการตั้งครรภ์อยู่ในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ และวิธีการคุมกำเนิดในผู้หญิงก็มีให้เลือกมากกว่าในผู้ชาย
ชีวิตคู่เป็น ชีวิตที่ต้องมีความรัก ความเมตตา ความอดทน ความเข้าใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน ฝ่ายชายจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในเรื่องการคุมกำเนิดของฝ่ายหญิงด้วย เพราะหากการคุมกำเนิดใดที่มีผลข้างเคียงต่อชีวิตคู่จนเดือดร้อน ฝ่ายชายอาจต้องปรับเปลี่ยนการมีเพศสัมพันธ์ให้เหมาะสม เพื่อมิให้คู่ชีวิตต้องเสียสุขภาพ
ในขณะเดียวกัน ปัจจุบันโรคทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวสำหรับชีวิตครอบครัวคือ โรคเอดส์ หากฝ่ายชายมีพฤติกรรมสำส่อน ย่อมนำโรคร้ายมาสู่ครอบครัว ทำให้เกิดความเดือดร้อนและวุ่นวายสับสน ดังนั้นจึงควรงดพฤติกรรมสำส่อน เปลี่ยนวิถีชีวิตให้มีวัฒนธรรมที่ถูกต้อง ดังคำกล่าวที่ว่า ชายไทย ไม่เที่ยวสำส่อน
ที่มา: หมอชาวบ้าน